วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตำนานถนนราชดำเนิน


ถนนราชดำเนิน ตอนที่ 1
    สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มมีเส้นทางสัญจรที่เรียกว่า ถนน เป็นครั้งแรกร้อยกว่าปีที่แล้ว เรามีถนนสายแรกที่ชื่อถนน เจริญกรุง ซึ่งสร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามคำกราบบังคมทูลขอของเหล่าราชทูตในสยาม ที่หวังจะมีเส้นทางสัญจรที่ราบเรียบสายยาว เพื่อจะได้เป็นที่ที่รถม้า และยานพาหนะแบบตะวันตกเดินทางได้โดยสะดวก และนับแต่นั้นมา สยามของเราจึงมีเส้นทางคมนาคมตามแบบตะวันตกเรื่อยมาครั้นมาถึงรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงสานต่อพระราชดำริจากรัชกาลที่ 4 ในแผนการขยายประเทศ ให้สอดรับกับนานาประเทศ
    ด้วยการสร้างเส้นทางคมนาคมเพิ่มมากขึ้น และในแผ่นดินของพระองค์นี่เอง ที่พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างถนนสายสำคัญที่สุดสายหนึ่งในกรุงเทพขึ้น ถนนสายนี้เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวัง กับพระราชวังดุสิต ดังนั้นถนนสายนี้จึงเป็นถนนเส้นยาวที่สุดที่กินเนื้อที่ถึง 2 เขต คือเขตพระนครและเขตดุสิต และแบ่งเส้นทางเป็น 3 ช่วงคือช่วง ถนนราชดำเนินนอก คือ เนื้อที่จากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มาจนถึง ราชดำเนินกลาง คือ ท้องสนามหลวง ไปจนถึง ราชดำเนินใน คือ ถนนหน้าพระลาน จรด สะพานผ่านพิภพลีลาศ ซึ่งถนนหลวงสายนี้ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2446 เป็นถนนที่ชาวไทยภูมิใจว่าเป็น Avenue แห่งแรก และแห่งเดียวของไทย
    สิริลักษณ์  จินตนะดิลกกุล
ถนนราชดำเนิน ตอนจบ
    สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชดำริ ที่จะขยายบ้านเมืองให้รับกับความเจริญจากตะวันตก ดังนั้น โครงการในพระราชดำริมากมายจึงได้เริ่มขึ้นถนน เป็นโครงการในพระราชดำริ ที่สำคัญที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้น ตามเส้นทางสายสำคัญๆ รวมทั้งเส้นทางที่จะตัดผ่าน มายังพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังอื่นๆ ที่พระองค์โปรดเสด็จอยู่เนืองๆ ด้วย ดังนั้น ถนน ราชดำเนิน จึงเกิดขึ้นมาในช่วงนั้นนอกจาก รัชกาลที่ 5 จะมีพระราชประสงค์ ที่จะสร้างถนนเชื่อมเส้นทางระหว่าง พระบรมมหาราชวัง และพระราชวัง ดุสิต พร้อมทั้งพระราชวัง สราญรมย์
    โดยการสร้างถนนสายนี้ พระองค์ โปรดให้สร้างถนนขนาดกว้างแล้ว สร้างสถานที่ราชการสำคัญๆ ขึ้นมาทั้ง 2 ฟากถนน โดยสร้างมาจากแนวคิดเดียวกันกับ Queen`s Walk ในย่าน Green Park ในกรุง ลอนดอน อีกทั้งพื้นที่ที่จะมีการตัดถนนผ่านนั้น มีบางส่วนที่อยู่ในตำบล บ้านพานถม และตำบล ป้อมหักกำลังดัสกร (ย่านบางลำพูในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นทางสัญจรสายเปลี่ยว พระองค์ จึงโปรดให้ตัดยาวขึ้นอีก เพื่อจะขยายส่วนของถนนตรงนี้ ให้เป็นย่านการค้าคึกคักส่วนเส้นทางระหว่างพระราชวังทั้ง 3 แห่ง คือ พระบรมมหาราชวัง พระราชวังดุสิต และ พระราชวัง สราญรมย์ ก็ให้สร้างสถานที่ราชการขึ้นแทน จากนั้นจึงทรงพระราชทานนามว่า ถนนราชดำเนิน ตามแบบอังกฤษที่ Queen`s Walk ซึ่งตรงกับความหมายตามพระราชดำริ ที่ให้สร้างคือ ทางที่กษัตริย์เดิน นั่นเองถนน ราชดำเนิน ตอนแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น