วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ เเผนกการจัดการทั่วไป


 ปรัชญา
การจัดการเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม นำบุคลิกภาพ สร้างทีมเป็น

วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นผลิตผู้เรียนให้มีความรู้ ความชำนาญ ด้านการใช้เครื่องใช้สำนักงาน มีภาวะผู้นำ ใฝ่สามัคคี มีคุณธรรมนำชีวิต รู้จักสร้างทีมงาน
พันธกิจ
                                                1. สร้างนักจัดการที่ดีสู่ตลาดงาน
                                                2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านทฤษฎี และปฏิบัติได้จริง
                                                3. ปลูกฝังจิตสำนึกให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักความสามัคคี
                                                4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำด้านความรู้ และบุคลิกภาพ





 สีประจำแผนก
 - สีเขียว













โครงการเชิญวิทยากรภายนอก
อบรมเรื่อง
 ภาวะผู้นำและบุคลิกภพของนักจัดการที่ดี
โดย ผศ.ดร.นำชัย  เลวัลย์
วันที่ 29 มกราคม  2554 











การศึกษาดูงานที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย ส่วนงาน Airport   Rail Link
สถานีมักกะสัน- สุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554

















ผู้สำเร็จการจัดการทั่วไปรุ่นที่ 2
รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2554














แผนกการจัดการและสำนักงานและแผนพัฒนาผู้เรียนในอนาคต 
          สาขาการจัดการทั่วไป
ระดับ
อัตลักษณ์
สมรรถนะ
ปวส.1
>ผลิตเอกสารด้วยเครื่องใช้สำนักงานได้หลายชนิด
>จัดสำนักงานเป็น
>สามารถจัดทำสื่อประกอบการเรียน สื่อแนะนำแผนก   และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี สามารถนำสื่อที่ผลิตเผยแพร่ สู่ชุมชนได้
>สามารถนำความรู้ ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีจัดสำนักงานได้อย่างเหมาะสม
ปวส.2
>มีบุคลิกลักษณะเป็นผู้นำ
>จัดทำโครงการเป็น
>สร้างแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
>สามารถเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานตามสาขาได้จริงและเป็นผู้นำเชิงคุณธรรม จริยธรรมเพื่อปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
>สามารถจัดทำโครงการต่างๆ ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาและเผยแพร่สู่ชุมชนได้จริง
>สามารถนำความรู้ ความเข้าใจมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้าง
>แบบการประเมินผลการปฏิบัติงานนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตำนานถนนราชดำเนิน


ถนนราชดำเนิน ตอนที่ 1
    สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มมีเส้นทางสัญจรที่เรียกว่า ถนน เป็นครั้งแรกร้อยกว่าปีที่แล้ว เรามีถนนสายแรกที่ชื่อถนน เจริญกรุง ซึ่งสร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามคำกราบบังคมทูลขอของเหล่าราชทูตในสยาม ที่หวังจะมีเส้นทางสัญจรที่ราบเรียบสายยาว เพื่อจะได้เป็นที่ที่รถม้า และยานพาหนะแบบตะวันตกเดินทางได้โดยสะดวก และนับแต่นั้นมา สยามของเราจึงมีเส้นทางคมนาคมตามแบบตะวันตกเรื่อยมาครั้นมาถึงรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงสานต่อพระราชดำริจากรัชกาลที่ 4 ในแผนการขยายประเทศ ให้สอดรับกับนานาประเทศ
    ด้วยการสร้างเส้นทางคมนาคมเพิ่มมากขึ้น และในแผ่นดินของพระองค์นี่เอง ที่พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างถนนสายสำคัญที่สุดสายหนึ่งในกรุงเทพขึ้น ถนนสายนี้เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวัง กับพระราชวังดุสิต ดังนั้นถนนสายนี้จึงเป็นถนนเส้นยาวที่สุดที่กินเนื้อที่ถึง 2 เขต คือเขตพระนครและเขตดุสิต และแบ่งเส้นทางเป็น 3 ช่วงคือช่วง ถนนราชดำเนินนอก คือ เนื้อที่จากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มาจนถึง ราชดำเนินกลาง คือ ท้องสนามหลวง ไปจนถึง ราชดำเนินใน คือ ถนนหน้าพระลาน จรด สะพานผ่านพิภพลีลาศ ซึ่งถนนหลวงสายนี้ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2446 เป็นถนนที่ชาวไทยภูมิใจว่าเป็น Avenue แห่งแรก และแห่งเดียวของไทย
    สิริลักษณ์  จินตนะดิลกกุล
ถนนราชดำเนิน ตอนจบ
    สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชดำริ ที่จะขยายบ้านเมืองให้รับกับความเจริญจากตะวันตก ดังนั้น โครงการในพระราชดำริมากมายจึงได้เริ่มขึ้นถนน เป็นโครงการในพระราชดำริ ที่สำคัญที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้น ตามเส้นทางสายสำคัญๆ รวมทั้งเส้นทางที่จะตัดผ่าน มายังพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังอื่นๆ ที่พระองค์โปรดเสด็จอยู่เนืองๆ ด้วย ดังนั้น ถนน ราชดำเนิน จึงเกิดขึ้นมาในช่วงนั้นนอกจาก รัชกาลที่ 5 จะมีพระราชประสงค์ ที่จะสร้างถนนเชื่อมเส้นทางระหว่าง พระบรมมหาราชวัง และพระราชวัง ดุสิต พร้อมทั้งพระราชวัง สราญรมย์
    โดยการสร้างถนนสายนี้ พระองค์ โปรดให้สร้างถนนขนาดกว้างแล้ว สร้างสถานที่ราชการสำคัญๆ ขึ้นมาทั้ง 2 ฟากถนน โดยสร้างมาจากแนวคิดเดียวกันกับ Queen`s Walk ในย่าน Green Park ในกรุง ลอนดอน อีกทั้งพื้นที่ที่จะมีการตัดถนนผ่านนั้น มีบางส่วนที่อยู่ในตำบล บ้านพานถม และตำบล ป้อมหักกำลังดัสกร (ย่านบางลำพูในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นทางสัญจรสายเปลี่ยว พระองค์ จึงโปรดให้ตัดยาวขึ้นอีก เพื่อจะขยายส่วนของถนนตรงนี้ ให้เป็นย่านการค้าคึกคักส่วนเส้นทางระหว่างพระราชวังทั้ง 3 แห่ง คือ พระบรมมหาราชวัง พระราชวังดุสิต และ พระราชวัง สราญรมย์ ก็ให้สร้างสถานที่ราชการขึ้นแทน จากนั้นจึงทรงพระราชทานนามว่า ถนนราชดำเนิน ตามแบบอังกฤษที่ Queen`s Walk ซึ่งตรงกับความหมายตามพระราชดำริ ที่ให้สร้างคือ ทางที่กษัตริย์เดิน นั่นเองถนน ราชดำเนิน ตอนแรก

ถนนข้าวสาร


สร้างเมื่อ : รัชกาลที่ 5 กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงซึ่งเป็นประตูแรก ที่ชาวต่างชาติจะเดินทางมาหยุดอยู่ที่นี่ ก่อนจะแยกย้ายกันไปยังจังหวัดอื่นๆ นั้น เมืองหลวงของเราเอง ก็มีย่านเฉพาะอันเป็นแหล่งชุมนุม ของชาวต่างชาติอยู่มากมาย และย่านที่เรารู้จักกันดี ชนิดที่พูดถึงปุ๊บ ก็จะนึกถึงชาวต่างชาติขึ้นมาทันที และหนึ่งในนั้นก็คือ ถนนข้าวสาร นั่นเอง 

ถนน ข้าวสาร หรือที่หลายคนยังคุ้นกับชื่อเดิมว่า ตรอกข้าวสารนั้น ไม่มีใครรู้ว่าคำว่า ข้าวสาร อันเป็นชื่อตรอกนั้น มีที่มาจากที่ใด เราทราบกันแต่ว่า ถนนข้าวสารนี้ สร้างขึ้นในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2435 ซึ่งเป็นช่วงเวลา แห่งการสร้างทางคมนาคม เพื่อขยายการเติบโตของ ประเทศ ในยุคล่าอาณานิคม 

ถนนตัดใหม่ที่สร้างขึ้น ตั้งแต่ช่วงท้ายถนนจักรพงษ์ หน้าวัดชนะสงคราม จรดต้นถนนตะนาว นั้น เป็นพื้นที่ที่กรมโยธาธิการเห็นว่าควรจะตัดเป็นถนนสายย่อยผ่านมาติดถนนราชดำเนิน ทางเจ้ากรมฯ จึงได้ทรงกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 5 ให้ตัดตรอกข้าวสาร แล้วสร้างสะพานข้ามคลองมาบรรจบกับถนนเฟื่องนคร ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงโปรดฯ ให้คงชื่อของถนนตัดใหม่เป็นชื่อ ถนนข้าวสาร ตามเดิม ปัจจุบัน ถนนข้าวสาร ได้กลายเป็นย่านชุมชน ของบรรดาชาวต่างชาติ แบบสะพายกระเป๋าเที่ยว เพราะย่านนี้ เป็นแหล่งของห้องพักราคาประหยัด ที่มีอาหารนานาชาติราคาถูก จำหน่ายสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเที่ยวอย่างประหยัดด้วย
http://travel.sanook.com/534251/%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/
สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล...เรื่อง / ภาพ

พระที่นั้งวิมานเมฆ

สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2443)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ถือได้ว่าเป็นรัชกาลที่มีการสร้างวังหลวงมากที่สุด ในสมัยรัตนโกสินทร์เลยก็ว่าได้ แล้ววังที่ถูกสร้างขึ้นนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวังที่ทรงโปรดให้สร้าง แด่ราชบุตรเสียเป็นส่วนใหญ่ กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีพระราชวังส่วนพระองค์เองอยู่หลายแห่ง ที่เมื่อกล่าวถึงเมื่อใดก็มักจะต้องนึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 5 เสียแทบจะทุกคราวไปหากเอ่ยถึงพระราชวังในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น เรามักจะนึกถึงวังในแบบตะวันตกเสียเป็นส่วนมาก อย่างเช่นพระราชวังบางปะอิน พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น จะมีอยู่เพียงไม่กี่แห่งที่ไม่ใช่วังที่สร้างตามแบบตะวันตกล้วน หรือจากฝีมือของช่างชาวตะวันตก และวังที่ว่านั้นย่อมต้องมี พระที่นั่ง วิมานเมฆ รวมอยู่ด้วย พระที่นั่งวิมานเมฆนั้นเป็นหนึ่งในหมู่พระที่นั่งที่อยู่ในอาณาเขตของพระราชวังดุสิต ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางสถานที่ราชการสำคัญๆ ที่มักจะใช้คำว่า ดุสิต ไปเสียแทบทุกอย่าง ทั้งนี้ พระราชวังดุสิตนั้นมีเพื่อนบ้านเป็นสวนสัตว์ดุสิต และ อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากสถาบันราชภัฏสวนดุสิตซึ่งอยู่ในเขต ดุสิตด้วยกันทั้งหมดนั่นเอง ความพิเศษของ พระที่นั่ง วิมานเมฆ ที่ได้เกริ่นไว้ในตอนต้นนั้น มีความพิเศษอยู่ที่ลักษณะของพระที่นั่งนั้นทำจากไม้สักทั้งหลัง โดยที่ยังคงลักษณะทางสถาปัตยกรรมให้คล้ายกับทางตะวันตกอยู่ ความพิเศษนี้เกิดจากมันสมองของ พระบาทสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ สถาปนิกเจ้าฟ้าของไทยเรานี่เอง ที่มาของพระที่นั่ง วิมานเมฆนั้น มิใช่ว่าจะเป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นจากความคิดแรกเริ่มของ สมเด็จกรมพระยานริศฯ หากแต่เป็นพระที่นั่งที่พระพุทธเจ้าหลวงได้โครงสร้างของพระที่นั่งมาโดยบังเอิญครั้งนั้นเป็นเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2444 รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสเกาะสีชัง แล้วทอดพระเนตรเห็น พระที่นั่ง มันธาตุรัตนโรจน์ ซึ่งเป็นพระที่นั่ง ที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จเกือบ 10 ปี เหตุที่สร้างไม่เสร็จเสียทีนั้นก็เป็นเพราะเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่บริเวณอ่าวไทยซึ่งเกาะสีชัง ก็อยู่ในข่ายที่จะถูกปิดล้อมด้วย เมื่อดำริเช่นนี้แล้ว พระองค์จึงรับสั่งให้รื้อพระที่นั่งนี้ มาปลูกไว้ยังพระราชวังดุสิต จากนั้นจึงรับสั่งให้สมเด็จกรมพระยานริศฯ เป็นผู้ออกแบบ สมเด็จกรมพระยานริศฯ นั้นทรงออกแบบพระที่นั่งใหม่นี้ตามแบบวิคทอเรียนของอังกฤษ ด้วยไม้สักทองอันเป็นโครงเก่าของ พระที่นั่ง มันธาตุรัตนโรจน์ ให้ออกมาเป็นรูปตัวแอล ส่วนบริเวณที่ประทับของพระที่นั่งนั้นทำเป็นรูป 8 เหลี่ยม สร้างสูงขึ้นไปเป็น 4 ชั้น พระที่นั่งนี้ใช้เวลาสร้างทั้งหมดราว 1 ปีกับอีก 7 เดือนจึงจะแล้วเสร็จ และแล้ว พระที่นั่ง วิมานเมฆนี้ ก็กลายเป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้สักที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในกาลต่อมา ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงขอพระบรมราชานุญาติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บูรณะซ่อมแซมพระที่นั่ง แล้วจัดเป็นพิพิธภัณท์ส่วนพระองค์รัชกาลที่ 5 โดยเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้
http://travel.sanook.com/535691/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86/
สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

ตำนานประตูพิมานชัยศรี

สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 1
พระบรมมหาราชวังนั้น แม้ว่าจะเป็นพระราชวังที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และมีความหลากหลายในทางสถาปัตยกรรมก็ตาม เรื่องราวความเป็นมาของทุกพื้นที่ในพระบรมมหาราชวังนี้ต่างก็มีความเป็นมาที่หลากหลายจนทำให้เกิดที่มาของชื่อต่างๆ ในวังนี้ด้วยจากประตูวังด้านหน้าสุด ริมถนนใหญ่เยื้องฝั่งตรงข้ามประตูหน้าของมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประตูวิเศษไชยศรีที่เราสามารถมองทะลุเข้าไปถึงพระราชฐานชั้นกลางได้ จุดที่เราสามารถจะมองเห็นลึกเข้าไปถงพระราชฐานได้นั้นมีเพียงจุดนี้จุดเดียว และจุดนี้ก็มีที่มาที่น่าอัศจรรย์ใจจนก่อให้เกิดที่มารของชื่อประตูที่กั้นคร่อมทางเดินที่จะตรงไปสู่เขตพระราชฐานชั้นอื่นๆ ด้วย ประตูพิมานไชยศรี เป็นประตูทรงโค้ง 2 ชั้นที่ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างประตูวิเศษไชยศรีและพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอย่างพอดิบพอดี ประตูนี้มีอายุพอๆ กับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและปราสาทพระเทพบิดรเลยทีเดียว แต่ประตูนี้กลับกลายมาเป็นประตูสำคัญในกาลต่อมา จากหนังสือเรื่องราชูปโภค ของเทวาธิราช ป.มาลากุล กล่าวไว้ว่า "ในปีพ.ศ.2327 มีชาวประมงคนหนึ่งทอดแหในทะเลสาบนครเสียมราฐ เขาตกได้พระแสงขรรค์องค์หนึ่ง ตัวพระขรรค์นั้นเป็นของเก่าฝีมือครั้งพระนครวัดโน่น เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) จึงให้ข้าหลวงนำพระขรรค์ไชยศรีมาทูลเกล้าถวายรัชกาลที่ 1 และในวันที่พระขรรค์มาถึงนั้น ปรากฏว่ามีอัสนียบาตรฟาดตกลงมายังพระนครถึง 7 แห่ง ตำแหน่งที่ตก 2 ใน 7 แห่งนั้นตกอยู่ที่ประตูวิเศษไชยศรีและพิมานไชยศรี ซึ่งเป็นประตูที่ตั้งอยู่ในแนวเดียวกัน ประตูทั้ง 2 นร้จึงได้ชื่อต่อท้ายว่า "ไชยศรี" เป็นอนุสรณ์แห่งความมงคลนี้ เพราะคนโบราณเชื่อว่าหากอัสนีตกไปยังกำแพง หรือบ้านเรือนใดก็ตาม ที่ตรงนั้นก็จะมีแต่ความโชคดีมีแต่เรื่องเป็นมงคลเข้ามาสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุลทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ http://travel.sanook.com/535711/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5/

ตำนานท่าเตียน

สร้างเมื่อ : สมัยรัชกาลที่ 1
ท่าน้ำริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาที่อยู่ใกล้ พระบรมมหาราชวังเพียงเดินข้ามถนนไปนั้น มีท่าน้ำอยู่หลายท่าที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการจะข้ามฟากไปยังฝั่งธนบุรี และ ท่าน้ำแถบนี้นั้นมีอยู่ท่าน้ำหนึ่งที่อาคารท่าน้ำยังดูเก่าคร่ำคราเพราะแทบจะไม่ได้บูรณะซ่อมแซมมาเป็นเวลานาน ท่าน้ำนี้ย่อมต้องหนีไม่พ้น ท่าเตียน ท่าเตียนนั้น จัดได้ว่าเป็นท่าน้ำที่ยังดูเก่าแก่ และ ชาวบ้านริมฝั่งท่าเรือทั้ง 2 ข้างทางนั้นยังดำรงอาชีพเหมือนคนรุ่นปู่รุ่นพ่ออยู่ ท่าน้ำนี้ จึงเป็นท่าน้ำยอดนิยมที่บรรดานักสร้างภาพยนตร์ย้อนยุค มักจะมาใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะภาพยนตร์เรื่อง คู่กรรมนั้นจะขาดฉากท่าเตียนเสียได้เลย ตำนานของท่าน้ำนี้ ใช่แต่ว่าจะมีตำนานที่เล่าขานกันเฉพาะหนังย้อนยุคช่วงสงครามโลก เท่านั้น ตำนานที่เก่าแก่กว่าอย่างเรื่อง ยักษ์ วัดโพธิ์ รบกับ ยักษ์ วัดแจ้ง นั้นก็รบกันที่ท่าเตียนนี้ เช่นเดียวกันแต่เดิมนั้น ที่ในบริเวณท่าน้ำนี้ เคยเป็นที่ประทับของเชื้อพระวงศ์ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาเกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ที่กวาดเอาสิ่งปลูกสร้างในแถบนั้น เสียเลี่ยนเตียนโล่ง ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากนับแต่นั้นมาว่า ท่าเตียน มาในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมี พระราชดำริให้จัดสร้างที่พักแก่ชาวต่างประเทศ อีก ทั้งท่าน้ำนี้ก็อยู่ใกล้กับโรงโม่ด้วย ท่าเตียนนี้จึงกลายเป็นท่าเรือขนส่งที่เป็นทั้งที่รับส่งผู้โดยสารเรือและ สินค้าไปพร้อมๆ กันโดยปริยาย ท่าเตียนนี้ ปัจจุบันยังเป็นท่าน้ำที่เป็นจุดรับส่งเรือข้ามฟากไปยัง วัด อรุณราชวราราม และ เรือด่วนบางสาย ยังคงเป็นท่าน้ำที่พื้นยังเป็นไม้กระดาน ทั้งอาคารท่าเป็นไม้กระดานเหมือนเดิม
สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

ตลาดนํ้าตลิ่งชัน


ตลาดน้ำตลิ่งชัน อยู่บริเวณริมฝั่ง "คลองบางขุนศรี" หรือคนทั่วไปมักเรียกว่า "คลองชักพระ" ยังคงบรรยากาศ และวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ ชาวบ้าน วัด บ้านทรงไทย ทั้งแบบเก่า และ แบบประยุกต์ ร้านค้า เรือขายของ สองฝั่งแวดล้อมด้วยสวนกล้วยไม้ สวนผักและผลไม้พื้นบ้าน อาทิ กระท้อนห่อ ขนุน มะปรางไข่ มะม่วง เป็นต้น
ตลาดน้ำตลิ่งชัน เป็นตลาดกึ่งชนบท ผสมผสานระหว่างชีวิตริมน้ำกับธรรมชาติ ตลาดมีเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ เท่านั้น โดยประมาณ 07.00 น. พ่อค้า แม่ค้า ซึ่งก็คือ ชาวสวนในพื้นที่จะเริ่มนำผลผลิตจากสวน ซึ่งมีทั้งพันธุ์ไม้ ผักสด ผลไม้ ปลา และสัตว์น้ำต่างๆ มาจำหน่ายเหมือนตลาดสดทั่วไป เพียงแต่ผลผลิตเหล่านี้ จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล และวิถีชีวิตชาวสวน
นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารบนแพริมน้ำ ซึ่งมีอาหารไทยและขนมหวานหลากหลายชนิด งานหัตถกรรมจากภูมิปัญญาชาวบ้าน การจัดทัวร์ทางน้ำท่องเที่ยวดูวิถีชีวิตริมคลอง และฟังดนตรีไทยที่จะมาบรรเลงเพลงในวาระโอกาสพิเศษต่างๆ
วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ไปเที่ยวกันนะครับ ตลาดน้ำตลิ่งชัน รอต้อนรับทุกท่านด้วยของอร่อยมากมาย

ขอขอบคุณ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) งานแผนปฏิบัติการตลาดภาคกลาง (www.tiewpakklang.com)
เรื่อง: ธรรมวารี ธีระณารา
ภาพ: ทศพร สุภาพ
(คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขนาดใหญ่)

เปิดตำนานความอร่อยรอบกรุงเทพ


ตำนานความอร่อย 30 ปี หมูกรอบนายไซ ประชาชื่นซอย 33-34

http://www.traveljung.com/forum/viewthread.php?tid=617  ขอบคุณที่ให้ข่อมูลค่ะแก้ไขครั้งสุดท้าย: 2013-2-28 13:05 โดย fodifi

เปิดตำนานความกรอบมานานกว่า 30 ปีแล้ว ตั้งแต่รุ่นพ่อนายไซยันรุ่นลูก อร่อยจนต้องติดป้ายเด่นหน้าร้านว่าอย่าเข้าร้านผิด เพราะกลัวจะเข้าใจผิดเข้าร้านติดกันที่ขายเหมือนกันแทน จำไว้ให้ดีของแท้ของจริงต้อง "หมูกรอบนายไซ" เท่านั้น ใครอยากมาลิ้มรสหมูกรอบในตำนานต้องมาที่นี่ที่เดียวไม่มีสาขาที่ไหน อยู่บริเวณระหว่างประชาชื่นซอย 33-34 ค่ะ


หมูกรอบเนื้อแน่นนุ่มใน

กลิ่นหอมเย้ายวนกันตั้งแต่หน้าร้านที่วางหม้อแกงจืดเรียงรายอยู่เกือบสิบหม้อ อุ่นร้อนพร้อมเสิร์ฟตลอดเวลา มีทั้งมะระซี่โครง ตือฮวนเกี้ยมฉ่าย หน่อไม้จีน ขาหมูพะโล้ ต้มยำขาหมู ต้มหัวไชเท้า พิเศษวันเสาร์อาทิตย์ยังมีซุปเปอร์ขาไก่เพิ่มมาด้วย (ถ้วยเล็ก 25 บาท ถ้วยใหญ่ 30 บาท) รอเสิร์ฟพร้อมข้าวหมูกรอบหมูแดง ให้ได้ซดน้ำแกงร้อน ๆ ช่วยให้ลื่นคอ สำหรับคล็ดลับความอร่อยของหมูกรอบที่ขึ้นชื่อลือชาของที่นี่ ต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกหมูกรอบสามชั้นอย่างดีมาทำ โดยนำมาย่างก่อนจะเอาไปทอด หั่นชิ้นพอดีคำ เวลาทานจะได้รสสัมผัสถึงความกรอบนอกนุ่มในของเนื้อแน่น ๆ ในทุกคำซึ่งที่ร้านจะย่างสดใหม่ทุกวัน ทำวันละร้อยกว่ากิโลกรัมก็หมดเกลี้ยง หากวันไหนหมดก่อนร้านปิดก็จะรีบเข้าครัวไปย่างเพิ่มให้เลยทีเดียว




ส่วนหมูแดงของที่นี่ จะย่างสด ๆ ตั้งแต่เช้ามืดก่อนเปิดร้านขายเลย ทำใหม่ทุกวันเช่นกัน วันละประมาณ 30-40 กิโลกรัม โดยทำตามสูตรต้นตำรับตั้งแต่สมัยคุณพ่อ รวมถึงตัวน้ำซอสราดหมูกรอบหมูแดง ที่ใช้สารพัดเครื่องปรุงผสมกันร่วมสิบอย่าง อาทิ ซีอิ๊วหวาน เกลือ น้ำมันงา แล้วนำมาต้มด้วยน้ำซุปกระดูกหมูเคี่ยวจนเข้มข้นได้ที่ นำไปราดบนเนื้อหมูและข้าวสวยร้อน ๆ ขอบอกว่าจานเดียวอาจไม่พอ แต่ไม่ต้องกลัว เพราะราคาสบายกระเป๋า ธรรมดา 30 บาท พิเศษ 35 บาท ส่วนใครติดใจอยากสั่งหมูกรอบหมูแดงกลับบ้าน เพียงกิโลกรัมละ 400 บาทค่ะ




ร้านเปิดตั้งแต่เช้าทุกวัน 06.30-15.00 น. หยุดวันจันทร์ที่ 4 ของเดือนและเทศกาลตรุษจีน หากมาช่วงเที่ยงอาจต้องรอกันหน่อย เพราะคนแน่นตลอด ต้นตำรับเก่าแก่เด็ดขนาดนี้ ให้รอนานแค่ไหนก็คุ้มค่ะ


 
 
 
 
 
 

Recommended Dishes
-ข้าวหมูกรอบ
-ข้าวหมูแดง
-แกงจืดมะระซี่โครงหมู
-ตือฮวนเกี้ยมฉ่าย

ที่ตั้ง : 1059 ซอยประชาชื่น 33 - ประชาชื่น 34 ถนนประชาชื่น แขวงบางซื่อ บางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทร : 0 2585 5630 , 08 3711-5238
เวลาเปิดบริการ : ทุกวันเวลา 06.30-15.00 น.
ราคาต่อท่านโดยประมาณ : ต่ำกว่า 100 บาทต่อคน
ประเภทอาหาร : อาหารจานเดียว
รูปแบบการให้บริการ : ร้านอาหารทั่วไป
เหมาะสำหรับ : ครอบครัว
ที่จอดรถ : ริมถนน



000.jpg

วิถีชีวิตเเบบชนบท


วิถีชีวิตชาวบ้านในสังคมชนบทถือว่ามีความสงบมาก ในเเต่ละวันใช้ชีวิตไปกับป่าและนา ช่วงเช้าๆท่านมักเจอภาพแบบนี้จนชินตา
วิถีชาวนา
เมื่ออากาศร้อนก็หลบพักมุมที่เถียงนาหลังน้อยหลังนี้
เถียงนาน้อย
เมื่อร้อนก็คลายร้อนด้วยน้ำบาดาล
วิถีชีวิตชาวนา
แนมสุดแสงหูแสงตากะมีตะไฮ่นาที่ไถหุดเสร้จแล้ว
วิถีชีวิตชาวนา
ก้อนเส่ายุเถียงนาได้รับการดูแลอีกครั้งหนึ่ง เพราะเมื่อถึงหน้าทำนาต้องใช้ก้อนเส่านี้เป็นี่รองรับการหุงหาอาหาร
หน่อไม้เริ่มออกหน่อ เพราะได้ความชุ่มแ่ำจากเมล็ดฝน
อากาศร้อนเจ้ารถไถก้ต้องจอด เพราะว่าคนไถจะตายก่อนเพราะความร้อน
อากาศร้อนหรือไม่ดูกันเอาเอง
มดแดงส้มกำลังออกหาเหยื่อ
มดแดง
หลังจากพักเที่ยงกินข้าวเสร็จแล้ว ผลไม้ป่าที่คงอยู่กับชาวชนบทมานานนมเเล้วนั้นก้คือหมากค้อ
เนื้อในของหมากค้อจะเป็นแบบนี้ แต่ถ้าชิมลงไปแล้วตาจะสว่างทันที
ส่วนผลไม้ป่าหน้านี้ยังไม่ออกมามาก ต้องรอช่วงสิงหาคม พวกหมากเงี่ยงดุก,หมากเล้บเเมวก็จะทยอยสู่ป่าเเน่นอนตอนนี้ดูหมากตาไก้ไปก่อนครับ
ระหว่างที่ไปเลี้ยงงัว ไถนา สิ่งที่มีค่าติดไม้ติดมือกลับมาบ้านก้คือเจ้านี้ระครับ ขี้ซี่ ใช้ขายก็ได้ อ่อยไฟก้ดี
กว่าจะได้กลับบ้านก้อมืดพอดี สำหรับช่วงนี้
ส่วนบางรายที่เร่งให้นาเสร็จเร้วก็อาจนับเม็ดดาวเดินกลับบ้านเลยละ
http://www.bannangio.com/webboards/915323/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97.html   -ขอบคุณค่ะที่ให้ข้อมูลเป็นเเนวทางในการศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

เที่ยวทั่วกรุงเทพใน 1 วัน


เที่ยวทั่วกรุงเทพ ใน 1 วัน

เที่ยวทั่วกรุงเทพ ใน 1 วัน

http://travel.kapook.com/view12499.html
เที่ยวกรุงเทพ

1 Day 1 trip Around Bangkok (Woman Plus)

          วันนี้ขออาสาเป็นไกด์พาเที่ยว 10 สถานที่เริด ๆ ใน 1 วัน รอบเมืองกรุงและปริมณฑล ให้คุ้มค่าวันหยุดพักผ่อนที่คุณจะได้รับทั้งสาระ ความบันเทิง และเรื่องราวดี ๆ เพียงแค่ 24 ชั่วโมง ก็เติมเต็มความสุขในชีวิตได้ ถ้าพร้อมแล้ว แต่งตัวและสตาร์ทพร้อมกันเลยค่ะ

1. สวนสาธารณะ เสพอากาศเป็นมื้อเช้า

          เริ่มวันท่องเที่ยวของคุณด้วยอากาศบริสุทธิ์ยามเช้าสิคะ ถึงเราจะอยู่ในเมืองใหญ่อย่างนี้ แต่อากาศดี ๆ ยังมีให้คุณได้สัมผัส แค่ลองแวะไปที่สวนสวยทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสวนลุมพินี สวนเบญจกิตติ สวนรถไฟ หรือแม้แต่สวนสาธารณะใกลๆ บ้านคุณก็สามารถเริ่มต้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีของวันนี้ได้ กิจกรรมที่เหมาะกับการมาเที่ยวเล่นสวนสาธารณะมีหลายรูปแบบ เช่น การปั่นจักรยาน พายเรือ และกิจกรรมดนตรีในสวนที่ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากเลยค่ะ

2. ตลาดน้ำ สีสันชานเมืองกรุง

          หลังสูดอากาศบริสุทธิ์มาเสียเต็มปอด ได้เวลาที่จะเติมพลังให้กระเพาะอาหารกันบ้างแล้วละค่ะ สำหรับมื้อเช้าแบบนี้ ลองแวะมาแถวชานเมืองกรุงเทพฯ กันเสียหน่อย คุณก็จะได้พบกับตลาดริมน้ำ เสน่ห์และสีสันของเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะเด่นด้วยอาหารการกินที่หลากหลาย ทั้งก๋วยเตี๋ยวเรือ ทอดมันปลากราย หอยทอด และขนมครก ขายกันตั้งแต่เช้าตรู่ไปจนถึงบ่ายแก่ ๆ ของวันเลยทีเดียวค่ะ

          ตลาดน้ำตลิ่งชัน เป็นตลาดอีกแห่งที่ไม่ควรพลาด เปิดบริการกันตั้งแต่ 8.00-17.00 น. ที่นี่เป็นตลาดกึ่งชนบทที่ผสมผสานวิถีชีวิตริมน้ำของชาวบ้านกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว อาหารส่วนใหญ่เป็นผลไม้ตามฤดูกาล อาหารคาวหวานก็มีพร้อมเสิร์ฟ คุณสามารถนั่งทานอาหารบนแพ รับลมเย็น ๆ ยามเช้า เพื่อเริ่มต้นวันท่องเที่ยวของคุณให้เต็มอิ่มกันไปเลย


เที่ยวกรุงเทพ

3. เข้าวัด ทำบุญ สร้างกุศลให้ชีวิต

          สาวชาวพุทธอย่างเรา การเข้าวัด ฟังธรรม แถมยังได้ดูสถาปัตยกรรมสวย ๆ ถือเป็นกิจกรรมที่สนุกและมีประโยชน์มาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น แม้แต่ชาวต่างชาติเองยังยอมรับในความงดงามของวัดไทย เราคนไทยด้วยกันจะไม่หาเวลามาชื่นชมความงามและร่วมทำบุญสร้างกุศลให้ชีวิตกันเสียหน่อยเหรอคะ

          วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว ที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองไทย หรือจะเป็นพระปรางค์ วัดอรุณฯ ก็มีลวดลายและการตกแต่งที่สวยงามจนติดอันดับโลกมาแล้ว จริง ๆ แล้วการเดินทางไปเที่ยววัดใด ๆ ก็ตาม ไม่จำเป็นว่าต้องเลือกเข้าแต่วัดที่มีชื่อเสียง บางครั้งวัดใกล้บ้าน หรือห่างไกลจากความเจริญ ก็สามารถเป็นสถานที่พักผ่อน สร้างสมาธิและปัญญาให้กับคุณได้ไม่ยากเลยค่ะ

4. พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ เที่ยวเพลินเดินชมศิลปะ

          ช่วงสายของวัน เราอยากให้คุณได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับเรื่องราวของศิลปะกันบ้างดีกว่า เพราะในกรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรมฯ มีมากมายที่เปิดบริการให้เข้าชม เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ หรือ Museum Siam แถวถนนสนามไชย ท่าเตียน ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่ได้รับความสนใจจากเด็กและเยาวชน รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่อยากรู้จักกับบรรพบุรุษของตัวเอง ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทยได้เป็นอย่างดี และมีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ ส่วนพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ ที่เรารู้จักกันดีและน่าสนใจอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด บ้านพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เป็นต้น

5. ช้อปปิ้ง อัพเดทเทรนด์ย่านดัง

          หลังเดินชมศิลปะให้ชุ่มฉ่ำปอด เวลาของสาว ๆ ก็มาถึงกับการเดินช้อปปิ้งย่านฮิปของคนกรุงเทพ โดยเฉพาะแยกราชประสงค์ ถนนของนักช้อป เวลา 2-3 ชั่วโมงต่อจากนี้คุณสามารถที่จะเดินเล่น อัพเดทเทรนด์เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ร้านอาหารดัง ๆ หรือแม้แต่เดินชมการตกแต่งอย่างมีสไตล์ของร้านค้าย่านนี้ก็นับว่าคุ้มค่ากับการท่องเที่ยวแล้วละค่ะ ส่วนย่านดังอื่น ๆ ของกรุงเทพก็ต้อง ตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งทุกวันนี้ยังคงครองใจนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติอยู่เสมอ หรือจะเป็นห้างดังต่าง ๆ ที่พร้อมใจกันปรับโฉมให้มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เพิ่มเสน่ห์และสีสันในการช้อปปิ้งให้คุณสนุกยิ่งขึ้น

6. ชมละคร งานแสดงสินค้า และโชว์ต่าง ๆ ความบันเทิงของคนเมืองกรุง

          เสน่ห์ของกรุงเทพฯคือ การผสมผสานที่ลงตัวของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและความบันเทิง โรงละคร และศูนย์วัฒนธรรมฯ จึงถือเป็นหัวใจของการให้บริการความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวอยากจะเลือกชม เช่น โรงละครรัชดาลัยเธียเตอร์กับการนำเสนอละครเวทีชื่อดังต่าง ๆ และโชว์ระดับโลก โจหลุยส์เธียเตอร์ หุ่นละครเล็กที่เลื่องชื่อ สยามนิรมิตกับโชว์ไทย ๆ ที่วิจิตรอลังการ นอกจากนี้ งานแสดงสินค้าต่าง ๆ ที่มักถูกจัดอยู่ตาม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี ล้วนแต่ก็น่าสนใจและเหมาะที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความบันเทิงกับชีวิตคนเมืองได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น งานแสดงสินค้า งานสัปดาห์หนังสือ งานท่องเที่ยวไทยและงานโชว์สัตว์เลี้ยงค่ะ

7. ล่องเรือ ชมวิถีชีวิตคนไทย

          ยามเย็นในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ คงไม่มีที่ไหนจะสวยเท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีกแล้วค่ะ การนั่งเรือชมวิถีชีวิตคนไทยผ่านริมน้ำเจ้าพระยา เป็นเสน่ห์การท่องเที่ยวทางน้ำอย่างหนึ่ง การท่องเที่ยวแบบย้อนอดีตเพื่อสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในยุคเก่าอย่างการนั่งเรือมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น เรือท่องเที่ยวหรือ Tourist Boat ของเรือด่วนเจ้าพระยา ที่จะพาชมความงามสองฟากฝั่งแม่น้ำพร้อมไกด์บรรยายทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เริ่มตั้งแต่ท่าสาทร ซึ่งจะมีเรือออกทุกครึ่งชั่วโมง แวะจอดรับส่งคนตามท่ารายทางไปเรื่อยจนสุดสายที่ท่าพระอาทิตย์ ใกล้ ๆ กับสวนสันติชัยปราการ และสำหรับการเที่ยวทางน้ำรูปแบบนี้ยืนยันว่าทั้งสนุกและประหยัด เหมาะกับยุคที่ทุกอย่างต้องหารสองจริง ๆ ค่ะ


เที่ยวกรุงเทพ

8. ถนนข้าวสาร ถนนพระอาทิตย์ ตามรอยสวรรค์ของนักเที่ยว

          พระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้ากันไป ได้เวลาแปลงกายเป็นนักท่องราตรีตระเวนเที่ยวกรุงเทพฯ เมืองที่เต็มไปด้วยแสงไฟแห่งความบันเทิง เริ่มต้นค่ำคืนนี้กันด้วยถนนคนเดินสุดฮิตอย่างถนนข้าวสาร ที่นี่เต็มไปด้วยความสนุกทุกรูปแบบ อาหารการกิน ร้านค้าขาย สถานบันเทิง มีสิ่งสารพัดให้คุณได้ตื่นตาตื่นใจ ถนนเส้นนี้เรียกว่าไม่เคยหลับใหลตั้งแต่หัวค่ำไปยันใกล้เช้าเลยทีเดียวค่ะ ใครติดใจอยู่ที่นี่ตลอดคืนก็ไม่ว่ากัน แต่หากชอบที่จะนั่งฟังเพลงชิล ๆ ภายในร้านที่มีสไตล์การตกแต่งที่แปลก น่าประทับใจ

          ถนนพระอาทิตย์ตลอดทั้งเส้นน่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับค่ำคืนนี้ของคุณ เพียงแค่เดินลัดเลาะเข้าซอยไม่กี่ร้อยเมตร จากถนนข้าวสารก็มาถึงถนนพระอาทิตย์โดยง่ายดาย แถมระหว่างการเดินทางคุณยังเพลิดเพลินไปกับร้านค้า ผับ บาร์ต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่เรียงรายตลอดเส้นทาง ใครชอบความสนุกแบบเบา ๆ เน้นพบปะเพื่อนฝูง นั่งพูดคุยพร้อมฟังเพลงจังหวะสบาย ๆ ต้องลองแวะมาที่ถนนพระอาทิตย์ค่ะ

9. สีสันยามค่ำคืน อัพเดทชีวิตกลางคืน

          แต่หากใครอยากเปลี่ยนบรรยากาศ เพื่อหาความสนุกที่แตกต่างและจังหวะที่เร่าร้อนขึ้น แนะนำให้ลองแวะไปย่านทองหล่อ–อโศก อีกหนึ่งแหล่งแฮ็งเอาต์ของวัยรุ่นกรุงเทพฯ ไปอัพเดทผับ บาร์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่แทบทุกเดือน แถมยังมีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกันอีกด้วย ส่วนใครที่ยังคิดถึงแหล่งบันเทิงเก่าแก่อย่าง อาร์ซีเอ ก็ไม่อยากให้พลาด เพราะถึงจะชื่อเก่าอย่างไร แต่เมื่อเดินเข้าไปบนถนนเส้นนี้แล้ว รับรองว่าความสนุกแบบเดิม ๆ แถมยังเพิ่มดีกรีความใหม่ของแนวเพลง บริการ และสไตล์การตกแต่งที่หรูหรา ตลอดทั้งคืนคุณได้รับความบันเทิงครบถ้วนแน่นอนค่ะ

10. เยาวราช ปิดท้ายมื้ออร่อยรอบดึก

          ปิดท้ายความสนุกตลอดวันของคุณ ด้วยมื้ออร่อยที่เยาวราชกันดีมั้ยคะ ที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารอร่อยนานาชนิด และช่วงเวลาการบริการที่ยาวนานถึง 03.00 น. ของวันใหม่เลยทีเดียวค่ะ เยาวราชเป็นถนนที่รวบรวมคนไทยเชื้อสายจีนไว้มากที่สุด เพราะฉะนั้น ถนนเส้นนี้จึงไม่ได้มีแต่เพียงอาหารที่อร่อยขึ้นชื่อ หากแต่ยังรวบรวมเรื่องราว วัฒนธรรมที่น่าเรียนรู้ไว้อีกมากมาย รวมถึงเรื่องของสถาปัตยกรรมที่คุณสามารถเดินชมได้ตลอดเส้นทาง ที่สำคัญ วัดวาอารามย่านนี้ก็น่าสนใจไม่น้อยนะคะ ลองปิดท้ายการเดินทางท่องเที่ยวของคุณวันนี้ด้วยการแวะไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสียหน่อย คงทำให้คุณอิ่มใจ นอนหลับฝันดีแน่ ๆ ค่ะ
yup-hin@hotmail.com   ขอบคุณเว็บไซของกระปุกด้วยค่ะ