วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ เเผนกการจัดการทั่วไป


 ปรัชญา
การจัดการเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม นำบุคลิกภาพ สร้างทีมเป็น

วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นผลิตผู้เรียนให้มีความรู้ ความชำนาญ ด้านการใช้เครื่องใช้สำนักงาน มีภาวะผู้นำ ใฝ่สามัคคี มีคุณธรรมนำชีวิต รู้จักสร้างทีมงาน
พันธกิจ
                                                1. สร้างนักจัดการที่ดีสู่ตลาดงาน
                                                2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านทฤษฎี และปฏิบัติได้จริง
                                                3. ปลูกฝังจิตสำนึกให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักความสามัคคี
                                                4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำด้านความรู้ และบุคลิกภาพ





 สีประจำแผนก
 - สีเขียว













โครงการเชิญวิทยากรภายนอก
อบรมเรื่อง
 ภาวะผู้นำและบุคลิกภพของนักจัดการที่ดี
โดย ผศ.ดร.นำชัย  เลวัลย์
วันที่ 29 มกราคม  2554 











การศึกษาดูงานที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย ส่วนงาน Airport   Rail Link
สถานีมักกะสัน- สุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554

















ผู้สำเร็จการจัดการทั่วไปรุ่นที่ 2
รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2554














แผนกการจัดการและสำนักงานและแผนพัฒนาผู้เรียนในอนาคต 
          สาขาการจัดการทั่วไป
ระดับ
อัตลักษณ์
สมรรถนะ
ปวส.1
>ผลิตเอกสารด้วยเครื่องใช้สำนักงานได้หลายชนิด
>จัดสำนักงานเป็น
>สามารถจัดทำสื่อประกอบการเรียน สื่อแนะนำแผนก   และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี สามารถนำสื่อที่ผลิตเผยแพร่ สู่ชุมชนได้
>สามารถนำความรู้ ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีจัดสำนักงานได้อย่างเหมาะสม
ปวส.2
>มีบุคลิกลักษณะเป็นผู้นำ
>จัดทำโครงการเป็น
>สร้างแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
>สามารถเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานตามสาขาได้จริงและเป็นผู้นำเชิงคุณธรรม จริยธรรมเพื่อปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
>สามารถจัดทำโครงการต่างๆ ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาและเผยแพร่สู่ชุมชนได้จริง
>สามารถนำความรู้ ความเข้าใจมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้าง
>แบบการประเมินผลการปฏิบัติงานนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตำนานถนนราชดำเนิน


ถนนราชดำเนิน ตอนที่ 1
    สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มมีเส้นทางสัญจรที่เรียกว่า ถนน เป็นครั้งแรกร้อยกว่าปีที่แล้ว เรามีถนนสายแรกที่ชื่อถนน เจริญกรุง ซึ่งสร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามคำกราบบังคมทูลขอของเหล่าราชทูตในสยาม ที่หวังจะมีเส้นทางสัญจรที่ราบเรียบสายยาว เพื่อจะได้เป็นที่ที่รถม้า และยานพาหนะแบบตะวันตกเดินทางได้โดยสะดวก และนับแต่นั้นมา สยามของเราจึงมีเส้นทางคมนาคมตามแบบตะวันตกเรื่อยมาครั้นมาถึงรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงสานต่อพระราชดำริจากรัชกาลที่ 4 ในแผนการขยายประเทศ ให้สอดรับกับนานาประเทศ
    ด้วยการสร้างเส้นทางคมนาคมเพิ่มมากขึ้น และในแผ่นดินของพระองค์นี่เอง ที่พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างถนนสายสำคัญที่สุดสายหนึ่งในกรุงเทพขึ้น ถนนสายนี้เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวัง กับพระราชวังดุสิต ดังนั้นถนนสายนี้จึงเป็นถนนเส้นยาวที่สุดที่กินเนื้อที่ถึง 2 เขต คือเขตพระนครและเขตดุสิต และแบ่งเส้นทางเป็น 3 ช่วงคือช่วง ถนนราชดำเนินนอก คือ เนื้อที่จากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มาจนถึง ราชดำเนินกลาง คือ ท้องสนามหลวง ไปจนถึง ราชดำเนินใน คือ ถนนหน้าพระลาน จรด สะพานผ่านพิภพลีลาศ ซึ่งถนนหลวงสายนี้ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2446 เป็นถนนที่ชาวไทยภูมิใจว่าเป็น Avenue แห่งแรก และแห่งเดียวของไทย
    สิริลักษณ์  จินตนะดิลกกุล
ถนนราชดำเนิน ตอนจบ
    สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชดำริ ที่จะขยายบ้านเมืองให้รับกับความเจริญจากตะวันตก ดังนั้น โครงการในพระราชดำริมากมายจึงได้เริ่มขึ้นถนน เป็นโครงการในพระราชดำริ ที่สำคัญที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้น ตามเส้นทางสายสำคัญๆ รวมทั้งเส้นทางที่จะตัดผ่าน มายังพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังอื่นๆ ที่พระองค์โปรดเสด็จอยู่เนืองๆ ด้วย ดังนั้น ถนน ราชดำเนิน จึงเกิดขึ้นมาในช่วงนั้นนอกจาก รัชกาลที่ 5 จะมีพระราชประสงค์ ที่จะสร้างถนนเชื่อมเส้นทางระหว่าง พระบรมมหาราชวัง และพระราชวัง ดุสิต พร้อมทั้งพระราชวัง สราญรมย์
    โดยการสร้างถนนสายนี้ พระองค์ โปรดให้สร้างถนนขนาดกว้างแล้ว สร้างสถานที่ราชการสำคัญๆ ขึ้นมาทั้ง 2 ฟากถนน โดยสร้างมาจากแนวคิดเดียวกันกับ Queen`s Walk ในย่าน Green Park ในกรุง ลอนดอน อีกทั้งพื้นที่ที่จะมีการตัดถนนผ่านนั้น มีบางส่วนที่อยู่ในตำบล บ้านพานถม และตำบล ป้อมหักกำลังดัสกร (ย่านบางลำพูในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นทางสัญจรสายเปลี่ยว พระองค์ จึงโปรดให้ตัดยาวขึ้นอีก เพื่อจะขยายส่วนของถนนตรงนี้ ให้เป็นย่านการค้าคึกคักส่วนเส้นทางระหว่างพระราชวังทั้ง 3 แห่ง คือ พระบรมมหาราชวัง พระราชวังดุสิต และ พระราชวัง สราญรมย์ ก็ให้สร้างสถานที่ราชการขึ้นแทน จากนั้นจึงทรงพระราชทานนามว่า ถนนราชดำเนิน ตามแบบอังกฤษที่ Queen`s Walk ซึ่งตรงกับความหมายตามพระราชดำริ ที่ให้สร้างคือ ทางที่กษัตริย์เดิน นั่นเองถนน ราชดำเนิน ตอนแรก

ถนนข้าวสาร


สร้างเมื่อ : รัชกาลที่ 5 กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงซึ่งเป็นประตูแรก ที่ชาวต่างชาติจะเดินทางมาหยุดอยู่ที่นี่ ก่อนจะแยกย้ายกันไปยังจังหวัดอื่นๆ นั้น เมืองหลวงของเราเอง ก็มีย่านเฉพาะอันเป็นแหล่งชุมนุม ของชาวต่างชาติอยู่มากมาย และย่านที่เรารู้จักกันดี ชนิดที่พูดถึงปุ๊บ ก็จะนึกถึงชาวต่างชาติขึ้นมาทันที และหนึ่งในนั้นก็คือ ถนนข้าวสาร นั่นเอง 

ถนน ข้าวสาร หรือที่หลายคนยังคุ้นกับชื่อเดิมว่า ตรอกข้าวสารนั้น ไม่มีใครรู้ว่าคำว่า ข้าวสาร อันเป็นชื่อตรอกนั้น มีที่มาจากที่ใด เราทราบกันแต่ว่า ถนนข้าวสารนี้ สร้างขึ้นในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2435 ซึ่งเป็นช่วงเวลา แห่งการสร้างทางคมนาคม เพื่อขยายการเติบโตของ ประเทศ ในยุคล่าอาณานิคม 

ถนนตัดใหม่ที่สร้างขึ้น ตั้งแต่ช่วงท้ายถนนจักรพงษ์ หน้าวัดชนะสงคราม จรดต้นถนนตะนาว นั้น เป็นพื้นที่ที่กรมโยธาธิการเห็นว่าควรจะตัดเป็นถนนสายย่อยผ่านมาติดถนนราชดำเนิน ทางเจ้ากรมฯ จึงได้ทรงกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 5 ให้ตัดตรอกข้าวสาร แล้วสร้างสะพานข้ามคลองมาบรรจบกับถนนเฟื่องนคร ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงโปรดฯ ให้คงชื่อของถนนตัดใหม่เป็นชื่อ ถนนข้าวสาร ตามเดิม ปัจจุบัน ถนนข้าวสาร ได้กลายเป็นย่านชุมชน ของบรรดาชาวต่างชาติ แบบสะพายกระเป๋าเที่ยว เพราะย่านนี้ เป็นแหล่งของห้องพักราคาประหยัด ที่มีอาหารนานาชาติราคาถูก จำหน่ายสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเที่ยวอย่างประหยัดด้วย
http://travel.sanook.com/534251/%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/
สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล...เรื่อง / ภาพ

พระที่นั้งวิมานเมฆ

สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2443)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ถือได้ว่าเป็นรัชกาลที่มีการสร้างวังหลวงมากที่สุด ในสมัยรัตนโกสินทร์เลยก็ว่าได้ แล้ววังที่ถูกสร้างขึ้นนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวังที่ทรงโปรดให้สร้าง แด่ราชบุตรเสียเป็นส่วนใหญ่ กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีพระราชวังส่วนพระองค์เองอยู่หลายแห่ง ที่เมื่อกล่าวถึงเมื่อใดก็มักจะต้องนึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 5 เสียแทบจะทุกคราวไปหากเอ่ยถึงพระราชวังในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น เรามักจะนึกถึงวังในแบบตะวันตกเสียเป็นส่วนมาก อย่างเช่นพระราชวังบางปะอิน พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น จะมีอยู่เพียงไม่กี่แห่งที่ไม่ใช่วังที่สร้างตามแบบตะวันตกล้วน หรือจากฝีมือของช่างชาวตะวันตก และวังที่ว่านั้นย่อมต้องมี พระที่นั่ง วิมานเมฆ รวมอยู่ด้วย พระที่นั่งวิมานเมฆนั้นเป็นหนึ่งในหมู่พระที่นั่งที่อยู่ในอาณาเขตของพระราชวังดุสิต ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางสถานที่ราชการสำคัญๆ ที่มักจะใช้คำว่า ดุสิต ไปเสียแทบทุกอย่าง ทั้งนี้ พระราชวังดุสิตนั้นมีเพื่อนบ้านเป็นสวนสัตว์ดุสิต และ อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากสถาบันราชภัฏสวนดุสิตซึ่งอยู่ในเขต ดุสิตด้วยกันทั้งหมดนั่นเอง ความพิเศษของ พระที่นั่ง วิมานเมฆ ที่ได้เกริ่นไว้ในตอนต้นนั้น มีความพิเศษอยู่ที่ลักษณะของพระที่นั่งนั้นทำจากไม้สักทั้งหลัง โดยที่ยังคงลักษณะทางสถาปัตยกรรมให้คล้ายกับทางตะวันตกอยู่ ความพิเศษนี้เกิดจากมันสมองของ พระบาทสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ สถาปนิกเจ้าฟ้าของไทยเรานี่เอง ที่มาของพระที่นั่ง วิมานเมฆนั้น มิใช่ว่าจะเป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นจากความคิดแรกเริ่มของ สมเด็จกรมพระยานริศฯ หากแต่เป็นพระที่นั่งที่พระพุทธเจ้าหลวงได้โครงสร้างของพระที่นั่งมาโดยบังเอิญครั้งนั้นเป็นเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2444 รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสเกาะสีชัง แล้วทอดพระเนตรเห็น พระที่นั่ง มันธาตุรัตนโรจน์ ซึ่งเป็นพระที่นั่ง ที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จเกือบ 10 ปี เหตุที่สร้างไม่เสร็จเสียทีนั้นก็เป็นเพราะเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่บริเวณอ่าวไทยซึ่งเกาะสีชัง ก็อยู่ในข่ายที่จะถูกปิดล้อมด้วย เมื่อดำริเช่นนี้แล้ว พระองค์จึงรับสั่งให้รื้อพระที่นั่งนี้ มาปลูกไว้ยังพระราชวังดุสิต จากนั้นจึงรับสั่งให้สมเด็จกรมพระยานริศฯ เป็นผู้ออกแบบ สมเด็จกรมพระยานริศฯ นั้นทรงออกแบบพระที่นั่งใหม่นี้ตามแบบวิคทอเรียนของอังกฤษ ด้วยไม้สักทองอันเป็นโครงเก่าของ พระที่นั่ง มันธาตุรัตนโรจน์ ให้ออกมาเป็นรูปตัวแอล ส่วนบริเวณที่ประทับของพระที่นั่งนั้นทำเป็นรูป 8 เหลี่ยม สร้างสูงขึ้นไปเป็น 4 ชั้น พระที่นั่งนี้ใช้เวลาสร้างทั้งหมดราว 1 ปีกับอีก 7 เดือนจึงจะแล้วเสร็จ และแล้ว พระที่นั่ง วิมานเมฆนี้ ก็กลายเป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้สักที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในกาลต่อมา ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงขอพระบรมราชานุญาติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บูรณะซ่อมแซมพระที่นั่ง แล้วจัดเป็นพิพิธภัณท์ส่วนพระองค์รัชกาลที่ 5 โดยเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้
http://travel.sanook.com/535691/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86/
สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

ตำนานประตูพิมานชัยศรี

สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 1
พระบรมมหาราชวังนั้น แม้ว่าจะเป็นพระราชวังที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และมีความหลากหลายในทางสถาปัตยกรรมก็ตาม เรื่องราวความเป็นมาของทุกพื้นที่ในพระบรมมหาราชวังนี้ต่างก็มีความเป็นมาที่หลากหลายจนทำให้เกิดที่มาของชื่อต่างๆ ในวังนี้ด้วยจากประตูวังด้านหน้าสุด ริมถนนใหญ่เยื้องฝั่งตรงข้ามประตูหน้าของมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประตูวิเศษไชยศรีที่เราสามารถมองทะลุเข้าไปถึงพระราชฐานชั้นกลางได้ จุดที่เราสามารถจะมองเห็นลึกเข้าไปถงพระราชฐานได้นั้นมีเพียงจุดนี้จุดเดียว และจุดนี้ก็มีที่มาที่น่าอัศจรรย์ใจจนก่อให้เกิดที่มารของชื่อประตูที่กั้นคร่อมทางเดินที่จะตรงไปสู่เขตพระราชฐานชั้นอื่นๆ ด้วย ประตูพิมานไชยศรี เป็นประตูทรงโค้ง 2 ชั้นที่ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างประตูวิเศษไชยศรีและพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอย่างพอดิบพอดี ประตูนี้มีอายุพอๆ กับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและปราสาทพระเทพบิดรเลยทีเดียว แต่ประตูนี้กลับกลายมาเป็นประตูสำคัญในกาลต่อมา จากหนังสือเรื่องราชูปโภค ของเทวาธิราช ป.มาลากุล กล่าวไว้ว่า "ในปีพ.ศ.2327 มีชาวประมงคนหนึ่งทอดแหในทะเลสาบนครเสียมราฐ เขาตกได้พระแสงขรรค์องค์หนึ่ง ตัวพระขรรค์นั้นเป็นของเก่าฝีมือครั้งพระนครวัดโน่น เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) จึงให้ข้าหลวงนำพระขรรค์ไชยศรีมาทูลเกล้าถวายรัชกาลที่ 1 และในวันที่พระขรรค์มาถึงนั้น ปรากฏว่ามีอัสนียบาตรฟาดตกลงมายังพระนครถึง 7 แห่ง ตำแหน่งที่ตก 2 ใน 7 แห่งนั้นตกอยู่ที่ประตูวิเศษไชยศรีและพิมานไชยศรี ซึ่งเป็นประตูที่ตั้งอยู่ในแนวเดียวกัน ประตูทั้ง 2 นร้จึงได้ชื่อต่อท้ายว่า "ไชยศรี" เป็นอนุสรณ์แห่งความมงคลนี้ เพราะคนโบราณเชื่อว่าหากอัสนีตกไปยังกำแพง หรือบ้านเรือนใดก็ตาม ที่ตรงนั้นก็จะมีแต่ความโชคดีมีแต่เรื่องเป็นมงคลเข้ามาสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุลทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ http://travel.sanook.com/535711/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5/

ตำนานท่าเตียน

สร้างเมื่อ : สมัยรัชกาลที่ 1
ท่าน้ำริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาที่อยู่ใกล้ พระบรมมหาราชวังเพียงเดินข้ามถนนไปนั้น มีท่าน้ำอยู่หลายท่าที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการจะข้ามฟากไปยังฝั่งธนบุรี และ ท่าน้ำแถบนี้นั้นมีอยู่ท่าน้ำหนึ่งที่อาคารท่าน้ำยังดูเก่าคร่ำคราเพราะแทบจะไม่ได้บูรณะซ่อมแซมมาเป็นเวลานาน ท่าน้ำนี้ย่อมต้องหนีไม่พ้น ท่าเตียน ท่าเตียนนั้น จัดได้ว่าเป็นท่าน้ำที่ยังดูเก่าแก่ และ ชาวบ้านริมฝั่งท่าเรือทั้ง 2 ข้างทางนั้นยังดำรงอาชีพเหมือนคนรุ่นปู่รุ่นพ่ออยู่ ท่าน้ำนี้ จึงเป็นท่าน้ำยอดนิยมที่บรรดานักสร้างภาพยนตร์ย้อนยุค มักจะมาใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะภาพยนตร์เรื่อง คู่กรรมนั้นจะขาดฉากท่าเตียนเสียได้เลย ตำนานของท่าน้ำนี้ ใช่แต่ว่าจะมีตำนานที่เล่าขานกันเฉพาะหนังย้อนยุคช่วงสงครามโลก เท่านั้น ตำนานที่เก่าแก่กว่าอย่างเรื่อง ยักษ์ วัดโพธิ์ รบกับ ยักษ์ วัดแจ้ง นั้นก็รบกันที่ท่าเตียนนี้ เช่นเดียวกันแต่เดิมนั้น ที่ในบริเวณท่าน้ำนี้ เคยเป็นที่ประทับของเชื้อพระวงศ์ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาเกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ที่กวาดเอาสิ่งปลูกสร้างในแถบนั้น เสียเลี่ยนเตียนโล่ง ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากนับแต่นั้นมาว่า ท่าเตียน มาในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมี พระราชดำริให้จัดสร้างที่พักแก่ชาวต่างประเทศ อีก ทั้งท่าน้ำนี้ก็อยู่ใกล้กับโรงโม่ด้วย ท่าเตียนนี้จึงกลายเป็นท่าเรือขนส่งที่เป็นทั้งที่รับส่งผู้โดยสารเรือและ สินค้าไปพร้อมๆ กันโดยปริยาย ท่าเตียนนี้ ปัจจุบันยังเป็นท่าน้ำที่เป็นจุดรับส่งเรือข้ามฟากไปยัง วัด อรุณราชวราราม และ เรือด่วนบางสาย ยังคงเป็นท่าน้ำที่พื้นยังเป็นไม้กระดาน ทั้งอาคารท่าเป็นไม้กระดานเหมือนเดิม
สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

ตลาดนํ้าตลิ่งชัน


ตลาดน้ำตลิ่งชัน อยู่บริเวณริมฝั่ง "คลองบางขุนศรี" หรือคนทั่วไปมักเรียกว่า "คลองชักพระ" ยังคงบรรยากาศ และวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ ชาวบ้าน วัด บ้านทรงไทย ทั้งแบบเก่า และ แบบประยุกต์ ร้านค้า เรือขายของ สองฝั่งแวดล้อมด้วยสวนกล้วยไม้ สวนผักและผลไม้พื้นบ้าน อาทิ กระท้อนห่อ ขนุน มะปรางไข่ มะม่วง เป็นต้น
ตลาดน้ำตลิ่งชัน เป็นตลาดกึ่งชนบท ผสมผสานระหว่างชีวิตริมน้ำกับธรรมชาติ ตลาดมีเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ เท่านั้น โดยประมาณ 07.00 น. พ่อค้า แม่ค้า ซึ่งก็คือ ชาวสวนในพื้นที่จะเริ่มนำผลผลิตจากสวน ซึ่งมีทั้งพันธุ์ไม้ ผักสด ผลไม้ ปลา และสัตว์น้ำต่างๆ มาจำหน่ายเหมือนตลาดสดทั่วไป เพียงแต่ผลผลิตเหล่านี้ จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล และวิถีชีวิตชาวสวน
นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารบนแพริมน้ำ ซึ่งมีอาหารไทยและขนมหวานหลากหลายชนิด งานหัตถกรรมจากภูมิปัญญาชาวบ้าน การจัดทัวร์ทางน้ำท่องเที่ยวดูวิถีชีวิตริมคลอง และฟังดนตรีไทยที่จะมาบรรเลงเพลงในวาระโอกาสพิเศษต่างๆ
วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ไปเที่ยวกันนะครับ ตลาดน้ำตลิ่งชัน รอต้อนรับทุกท่านด้วยของอร่อยมากมาย

ขอขอบคุณ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) งานแผนปฏิบัติการตลาดภาคกลาง (www.tiewpakklang.com)
เรื่อง: ธรรมวารี ธีระณารา
ภาพ: ทศพร สุภาพ
(คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขนาดใหญ่)